วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

การติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต



เครือข่ายอินเตอร์เน็ต Network








ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
- จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
- เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
  • สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
  • มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)
      คอมพิวเตอร์จากสถานที่ทั้งสี่เริ่มสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่เป็นการเชื่อมต่อในลักษณะเป็นเน็ตเวิร์ก เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อในระยะไกล จึงเป็น WAN (Wide area network) เน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) และอาร์พาเน็ตเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในเวลาต่อมา การติดต่อสื่อสารที่นิยมใช้กันในช่วงนั้นของอาร์พาเน็ตคือ จดหมายอิเล็กทรอนิกหรืออีเมล์ การสนทนาแบบออนไลน์ และ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์พาเน็ตคือ เป็นเน็ตเวิร์กแบบไม่มีศูนย์กลาง หรือเป็นเน็ตเวิร์กแบบกระจาย เน็ตเวิร์กแบบมีศูนย์กลางนั้นเมื่อไรก็ตามที่ศูนย์กลางเกิดเสียหรือถูกทำลาย จะทำให้ทั้งเน็ตเวิร์กทำงานไม่ได้ ส่วนเน็ตเวิร์กที่ไม่มีศูนย์กลางนั้นถ้าส่วนใดส่วนเกิดเสียขึ้นมา ส่วนที่เหลือยังคงสามารถทำงานต่อได้คือสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
โปรโตคอล TCP/IP
ภายในเวลาไม่นานนักหน่วยงานอื่นๆได้เริ่มเห็นคุณประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอาร์พาเน็ต ดังนั้นหน่วยงานเหล่านั้นจึงต้องการนำเอาบรรดา คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานตนมาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต
การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นต้องใช้กฏเกณท์ด้านการสื่อสารเดียวกัน กฏเกณท์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol)เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหา ในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอลของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม
เพื่อให้การนำเอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ TCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IP ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์พาเน็ตทำได้สดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โปรโตคอล TCP/IP ได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว
Internet เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กในทศวรรษที่ 1980 อาร์พาเน็ตได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก คือ ได้มีบรรดาเน็ตเวิร์กอื่น ๆเป็นจำนวนมากได้มาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต ในตอนนี้กล่าวได้ว่าอาร์พาเน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์ก เป็นจำนวนมากมิได้มีเพียงเน็ตเวิร์กเดียว(ในตอนเริ่มต้น) เน็ตเวิร์กทั้งหลายในอาร์พาเน็ตพอจำแนกออกได้ดังนี้



  • ARPANET
  • MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหาร
  • NSFNET (National Science Foundation network)
  • OTHER NETS เน็ตเวิร์กอื่นๆ เช่น Bitnet Usenet
สิ่งที่เกิดขึ้นกล่าวได้ว่าเป็นเน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กโดยมีอาร์พาเน็ตเป็นเน็ตเวิร์กหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อให้สื่อความหมายจึ่งได้เปลี่ยนจากการใช้ชื่ออาร์พาเน็ตมาเป็นใช้ชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet) แทนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และในช่วงเดียวกันนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ตัดสินใจแยก MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหารออกจากอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
        เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
  • เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)

วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
  • สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation



 การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)
บริการด้านข้อมูลต่าง
        2.1
การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        
การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        
ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        
ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ
ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2
โกเฟอร์ (gopher)
        
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3
อาร์ซี (archie)
        
อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้




บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

     
 1.บริการด้านการสื่อสาร



    

        
ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)
รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists
เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3
กระดานข่าว (usenet)
        
ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        
การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        
เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic)
ตัวอย่างเช่น

        1.4
การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        
การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        
การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC
     
        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

    
เทลเน็ต (telnet)
        
เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป



       
 2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS
เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย      
  2.5 veronica
        veronica
ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย
ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

 2.6
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom


การค้นหาข้อมูล(search engine)ปัจจุบันนี้ เสิร์ช เอ็นจิ้น (search engine) กลายมาเป็นสิ่ง จำเป็น สำหรับการท่องโลกอินเตอร์เนต เพราะหาก ไม่มีบริการ ช่วยค้นหาข้อมูล เหล่านี้ เราต้องใช้เวลานับหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน ที่จะค้นหาข้อมูล ที่เราต้องการ จะใช้งานครบ ซึ่งเสิร์ช เอ็นจิ้น ก็มีมากมาย หลายเจ้า ให้เราได้เลือกใช้งาน กัน ซึ่ง แต่ละเจ้า ก็มีวิธี การที่ ใช้ค้นหาาข้อ มูล ที่แตกต่างกัน เราสามารถแบ่ง เว็บไซต์ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล ออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

การบริการค้นหาโดยใช้ อินเด็กซ์ (index)
การบริการค้นหา ข้อมูลตามหมวดหมู่ (directory)

การค้นหาโดยใช้อินเด็กซ์
เราคง เคยได้ยินชื่อ เสิร์ช เอ็นจิ้น อย่าง อัลตาวิสต้า (AltaVista/www.altavista.digital.com) และฮ็อทบ็อท (HotBot/www.hotbot.com) ทั้งสอง เป็นตัวอย่างของเสิร์ช เอ็นจิ้นนี้ หลักการคือ เขาจะมีโปรแกรมตัวหนึ่ง เป็นตัวสแกน ไปตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เรียกว่า โปรแกรม สไปเดอร์ การค้นหา ข้อมูลโดยใ ช้ อินเด็กซ์
การค้นหาตามหมวดหมู่
เสิร์ช เอ็นจิ้น ชื่อดังอีก 2 ตัว ได้แก่ ยาฮู (Yahoo!/www.yahoo.com)และแมกเจลแลน (Magellan/www.magellan.com) เลือกใช้เทคนิคนี้ โดยใช้มนุษย์ เป็นคนจัดหมวดหมู่ ของเว็บไซต์ และคอย ปรับปรุงให้ขอมูล ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากบัญชี รายชื่อเว็บไซต์ ได้ผ่านการจัด หมวดหมู่โดยมนุษย์ ดังนั้น ในรายชื่อก็จะมี รายละเอียด คร่าว ๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ ที่เพิ่มเติม ลงไป ข้อของการค้นหาแบบนี้คือ จะสามารถตีกรอบผลลัพธ์ ออกมาตรง กับความ ต้องการ มากขึ้น เช่น เราลองใส่คำว่า "Spider" ในยาฮู! ค้นหาดู เราจะได้รายการของ หมวดหมู่ออกมา
ส่ง E-mail
- รวดเร็วกว่าการส่งจดหมายปกติ สามารถตรวจสอบได้ และยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ที่อื่นๆ
FTP
- เป็นการส่งผ่านข้อมูล
- Group Discussion
- Video Phone, Internet Phone, Fax
- ข้อมูลให้เปล่า


World Wide Web(www)
- เอกสารตีพิมพ์ในลักษณะ Graphics และ Text เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเรียกดูได้
- Homepage ของบริษัท หน่วยงาน องค์กร และบุคคล
- กระดานข่าวของกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน
- Message Board
- สามารถติดต่อสื่อสารกระดานข่าวภายในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น