วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวัดและประเมิณผลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูล
(Data Processing)

หัวข้อ (Topic)
2.1  การประมวลผลข้อมูล
2.2  หน่วยความจำ
2.3  รหัสแทนข้อมูล

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning  Objective)
2.1  อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้
2.2  อธิบายเกี่ยวกับประเภทของหน่วยความจำและเปรียบเทียบความแตกต่างได้
2.3  เปรียบเทียบความแตกต่างของรหัสแทนข้อมูลแต่ละแบบได้  และสามารถแสดงวิธีการแปลงรหัส
        แทนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้

จากเนื้อหาในบทที่  1  ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย  3 ส่วนหลัก ๆ  ได้แก่ Hardware   Software  และ Peopleware   จากองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้  เราได้พูดถึงโครงสร้าง Hardware ด้านกายภาพ (Physical)  ของเครื่อง Micro Computer  ประกอบด้วย Monitor        CPU Set / Case        Keyboard      ซึ่งในบทที่  2 นี้จะขอกล่าวถึงในส่วนของ CPU Set /Case  รวมถึงวิธีการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

2.1  การประมวลผลข้อมูล
                คอมพิวเตอร์อาศัยอุปกรณ์   4  ส่วนหลักในการประมวลผลข้อมูล  ได้แก่
1.         อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล  (Input  devices)
2.      อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล (Processor / Central  Processing  Unit:CPU) 
3.      อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output  devices)
4.     อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage)

ซึ่งสามารถอธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลได้ดังนี้
1. การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  User ทำการป้อนข้อมูล (Input data) เข้าสู่ระบบ โดยอาศัย
อุปกรณ์ Input device
2.         การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล  โดยข้อมูลที่ User นำเข้า
มาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM)  จากนั้น Control  Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก  RAM  ไปยัง  ALU  เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง



ระหว่างการประมวลผล  Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่  และ Cache
จะคอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ  และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle)

Note:  Machine cycle  หมายถึง  รอบเวลาที่ใช้ในการประมวลผลชุดคำสั่งของเครื่องต่อรอบสัญญาณนาฬิกา                  เป็นเวลาที่ร้องขอการทำงาน เช่น การเรียก (Load) ข้อมูล,  การประมวลผล (Execute)  และการจัดเก็บข้อมูล  ซึ่งใน Machine cycle  จะประกอบด้วย 2 ช่วงจังหวะการทำงาน ได้แก่
1.   Instruction time ( I-time)  หมายถึง  ช่วงเวลาที่   Control unit รับคำสั่ง (Fetch) จาก memory และนำคำสั่งนั้นใส่ลงไปใน register    จากนั้น Control unit จะทำการถอดรหัสชุดคำสั่งและพิจารณาที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการ  
2. Execution time  หมายถึง   ช่วงเวลาที่  Control unit จะย้ายข้อมูลจาก  memory ไปยัง registers  และส่งข้อมูลให้    ALU  ทำงานตามคำสั่งนั้น    เมื่อ ALU ทำงานเสร็จ  Control unit จะเก็บผลลัพธ์ไว้ใน memory   ก่อนส่งไปแสดงผลที่ Monitor หรือ Printer

3.  การแสดงผลข้อมูล (Output) หลังจาก CPU ประมวลผลเสร็จเรียบร้อย Control  Unit จะ
ควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านBus system เพื่อส่งมอบ (Transfer)  ข้อมูลจาก CPU  ไปยังหน่วยความจำ  จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device (หากคุณใช้ Card เพิ่มความเร็วในการแสดงผลของจอภาพ ก็จะส่งผลต่อความเร็วของระบบได้เช่นกัน) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data)  เรียกว่า   ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information)
4.        การจัดเก็บข้อมูล (Storage) หน่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหมายถึงสื่อจัดเก็บสำรอง เช่น
Harddisk     Diskette หรือCD ทำงาน 2 ลักษณะ คือ
1 ) การ Load ข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล   ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ใน Harddisk แล้ว
คุณต้องการ Load  ข้อมูลขึ้นมาแก้ไขหรือประมวลผล ข้อมูลที่ถูก Load และนำไปเก็บในหน่วยความจำ (Memory:RAM) จากนั้นส่งไปให้ CPU
2 ) การเก็บข้อมูลเมื่อประมวลผลเสร็จ    เมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเสร็จ ข้อมูลนั้น
จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (Memory:RAM) ซึ่ง RAM จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะที่เปิดเครื่อง (Power On)  เมื่อไรที่คุณปิดเครื่อง โดยที่ยังไม่สั่งบันทึกข้อมูล (Save)   ข้อมูลก็จะหาย (Loss)   ดังนั้นหาก User  ต้องการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้งานในครั้งต่อไปจะต้องสั่งบันทึก โดยใช้คำสั่ง Save   ไฟล์ข้อมูลก็จะถูกนำไปเก็บในสื่อจัดเก็บสำรอง ได้แก่  Diskette      Harddisk    CD  หรือ  Thumb Drive แล้วแต่ว่าคุณจะเลือก Save ไว้ในสื่อชนิดใด
แสดงขั้นตอนการประมวลผล ดังภาพด้านล่าง


สามารถสรุปภาพรวมของการประมวลผลข้อมูล  ได้ดังนี้











รู้จักกับ  Processor
Processor หรือ CPU (Central Processing Unit)   หน่วยประมวลผลกลาง  จัดเป็นศูนย์กลางของเครื่องในการประมวลผลข้อมูล   เป็นชิป (Chip)  ที่รวมชุดของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับสมองของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่ในการ ควบคุม   คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic) เปรียบเทียบและประมวลผล ซึ่งภายใน CPU   แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
1.  Control unit    เป็นตัวควบคุมการเข้าถึงชุดคำสั่งของโปรแกรม ควบคุมการสื่อการระหว่าง 
Memory  กับ ALU  โดยจะส่งข้อมูลและชุดคำสั่งจากสื่อจัดเก็บสำรอง (Harddisk) ไปยังหน่วยความจำ (RAM)
        2.  Arithmetic/logic unit (ALU)  ทำการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์  แยกการ
ทำงานออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic)  และ ส่วนเปรียบเทียบตรรกศาสตร์ (Logic)
1 ) ส่วนคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic)   ได้แก่

เครื่องหมาย
การกระทำ
+
บวก
-
ลบ
*
คูณ
/
หาร

Note :  เป็นการคำนวณโดยใช้ระบบเลขฐานสอง

2 ) ส่วนเปรียบเทียบตรรกศาสตร์ (Logic)
ใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลตัวเลข       ตัวอักษร  และอักขระพิเศษ   ผลลัพธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบเป็นจริง (True)  หรือ  เท็จ  (False)  เท่านั้น

เครื่องหมาย
การกระทำ
= =
เท่ากับ
!=
ไม่เท่ากับ
> 
มากกว่า
> =
มากกว่าหรือเท่ากับ
น้อยกว่า
< =
น้อยกว่าหรือเท่ากับ

ความเร็วในการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
จะวัดจากความเร็วในการประมวลผลคำสั่ง (Instruction) ต่อวินาที  โดยมีการใช้หน่วยวัดความเร็ว ดังนี้
-  Millisecond  หมายถึง  1 พันคำสั่ง / วินาที
-  Microsecond  หมายถึง  1 ล้านคำสั่ง / วินาที
-  Nanosecond  หมายถึง  1 พันล้านคำสั่ง / วินาที
-  Picosecond  หมายถึง  1 ล้านล้านคำสั่ง / วินาที

หน่วยวัดความเร็วของ  Microprocessor

จะวัดจากความเร็วของระบบเครื่องต่อรอบสัญญาณนาฬิกา (system clock)  ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้หน่วยวัดเป็น gigahertz (GHz)  แต่ใน PC รุ่นเก่าอาจวัดเป็น megahertz (MHz)   

การวัดประสิทธิ์ภาพอื่น ๆ

- Millions of Instructions per Second (MIPS)  :  เป็นวัดประสิทธิภาพสำหรับ  High-speed PC   ซึ่งเครื่องชนิดนี้สามารถทำงานได้เกิน 500 MIPS  -  Megaflop (one million floating-point operations)   ใช้วัดความสามารถของเครื่อง  ในการคำนวณที่มีความซับซ้อนสูง

2.2  หน่วยความจำ
หน่วยความจำจัดเป็นสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล (Data Storage)  สามารถจำแนกสื่อจัดเก็บข้อมูลได้ดังนี้
จำแนกตามประเภทของสื่อ
จำแนกตามความสามารถของการจัดเก็บข้อมูล
1.  Primary storage (memory)
      เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลหลัก  ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี สื่อชนิดนี้ประกอบด้วย หน่วยความจำ  RAM และ ROM
   -   RAM : Random Access Memory  จะวางอยู่นอก CPU เก็บข้อมูลและคำสั่งในการประมวลผล  เก็บข้อมูลในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่
ชนิดของ RAM 2  ชนิดหลัก
        1. SRAM ( Static Random Access Memory ) เก็บข้อมูลได้ระหว่างที่มีไฟหล่อเลี้ยงวงจร  โครงสร้างภายในเป็น D-Flip Flop ต่อเรียงกัน ไม่จำเป็นต้องเขียนข้อมูลซ้ำใหม่เรื่อยๆ ( Refresh) SRAM มีอัตราความเร็วมาก แต่มีราคาแพง DRAM โดยปกติแล้ว SRAM นิยมนำมาใช้ทำเป็นหน่วยความความเร็วสูง
(Cache Memory )
         2. DRAM ( Dynamic Random Access Memory ) มีความจุสูง   DRAM จะมีปัญหาเกี่ยวกับการรั่วซึมของไฟ  ต้อง Recharge  ไฟอยู่เรื่อย ๆ   หากไฟดับข้อมูลก็จะเริ่มสูญหายไป  กล่าวคือ  ต้องเขียนข้อมูลซ้ำใหม่เรื่อยๆ ( Refresh )
(http://www.student.chula.ac.th/~46802446/ram.htm)
    - ROM  : Read Only Memory
ใช้จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลแบบถาวร  ผู้ใช้ไม่
สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ บริษัทผู้ผลิตจะฝังชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบไว้ในชิป  ROM ไว้เรียบร้อยแล้ว  ข้อมูลจะใน ROM จะคงอยู่ถึงแม้ปิดเครื่อง
1.  Volatile storage
        สื่อจัดเก็บแบบลบเลือน  จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะ (Temporary  Storage)  ที่เปิดเครื่องเท่านั้น เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะสูญหาย  สื่อชนิดนี้ได้แก่ RAM
2.  Secondary storage
      เป็นสื่อจัดเก็บสำรอง คุณสามารถนำมาติดตั้งเพิ่มเติมในเครื่อง    เก็บข้อมูลระยะยาว  เป็นสื่อจัดเก็บที่แยกออกมาจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์   สื่อชนิดนี้ ได้แก่ 1.  Magnetic tape
2.  Magnetic Disks   ได้แก่
      -  Diskette: มีขนาด 3.5”   ความจุ 1.44 MB
    -    Hard Disk  จัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า  Diskette ความจุ (GB) และการผลิต HDD ปัจจุบันใช้เทคโนโลยี  Noise Guard  ขจัดเสียงรบกวนของ HDD ขณะอ่านข้อมูล  ทำให้เงียบสงบในการทำงาน และมี Impact Guard ที่รองรับแรงสั่นสะเทือน ป้องกันแรงกระแทก ปกป้อง HDD                                                 
3.  Optical Disks ได้แก่  CD-ROMs และ  
      DVD-ROMs
2.  None-Volatile storage
        สื่อจัดเก็บแบบไม่ลบเลือน  สามารถเก็บข้อมูลได้ยาวนานและถาวร ถึงแม้จะปิดเครื่องข้อมูลก็จะยังคงอยู่  สื่อประเภทนี้ ได้แก่   Harddisk, Diskette , CD-ROM  และ   Flash Memory


หน่วยความจำและอุปกรณ์สำคัญอื่น ๆ
Registers   
หน่วยความจำภายใน CPU  ทำงานภายใต้การควบคุมของ  Control unit  โดยจะ
รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ CPU จำเป็นต้องใช้งาน ทำการจัดเก็บและโยกย้ายชุดคำสั่งหรือข้อมูลกับ  Memory (RAM)

Cache Memory

หน่วยความจำความเร็วสูง  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลชั่วขณะ   (temporary)  มีความเร็วในการส่ง
หรือโยกย้ายข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์  มีความเร็วในการเข้าถึงและถ่ายโอนข้อมูลสูง  หน้าที่หลักคือเก็บพักข้อมูลที่มีการใช้งานบ่อย ๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้น ๆ จะดึงข้อมูลได้เร็วขึ้น  โดยจะมองหาข้อมูลใน Cache  ก่อนที่จะไปมองใน RAM  และเราสามารถจำแนก Cache  ได้ 2  แบบ   คือ Cache Level 1   จะ Build-In CPU  และ  Cache Level  2  จะวางอยู่นอก CPU
Data  path 
คือ  เส้นทางการเดินทางของข้อมูล ในที่นี้เราจะเรียกว่า BUS”  ซึ่ง   BUS เป็นเส้นทางการขนส่งข้อมูลระหว่าง CPU  กับ Memory (RAM)  และ   ขนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งบนระบบ  สามารถจำแนก ประเภทของ BUS ได้ 2 ประเภทได้แก่  External BUS  และ  Internal BUS  นอกจากนี้ความกว้างของ BUS  (BUS  width) ใช้หน่วยวัดเป็น  bits   ถ้า BUS  มีกว้างมากจะทำให้ขนส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากในเวลาหนึ่ง ๆ   ส่งผลให้ภาพรวมของระบบมีการทำงานเร็วขึ้น  ส่วนความเร็วของ BUS (BUS speed)  หมายถึงความเร็วของการขนส่งข้อมูลในระบบ  โดยปกติความเร็วของ BUS  ในเครื่อง PC จะอยู่ที่  400 หรือ 533 MHz  ใช้หน่วยวัดเป็น  Megahertz (MHz)

                                Main Circuit Board
                แผงวงจรหลัก  (Main Circuit Board / Main Board) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mother Board  เป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในกล่อง Tower Case  มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานเรียบ  เก็บวงจรต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์  โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิเช่น CPU    RAM    ROM   Cache และ BUS
ปัจจุบัน  Mainboard ประสิทธิภาพสูง ของค่ายต่าง ๆ  เช่น ABIT IS7-E2  ที่ผลิตออกมาสำหรับ Pentium 4 Prescott          ซึ่ง      เป็น CPU รุ่นใหม่ของค่าย   Intel    มีข้อแนะนำว่าการเลือกใช้ CPU   ตัวใดและของค่ายใดในการใช้งานก็ควรเลือก Mainboard ให้เหมาะสมด้วย  เช่น Mainboard Socket 478 ของ ABIT   รุ่น SI7-E2  ซึ่งมีราคาไม่สูงนัก    มีขนาดกะทัดรัด   เนื้อที่จำกัด  สามารถติดตั้งและวางชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายใน Board ได้อย่างลงตัว  การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนของ CPU ก็มีระยะห่างที่เหมาะสม    การ์ดแสดงผล     Slot     มีระยะห่างพอดี  มีคุณสมบัติมากมายและยังสามารถทำ Over Clock ได้  ประสิทธิภาพของตัว Board เป็นที่น่าพอใจ  สามารถ Update Bios ได้
                นอกจาก Board แล้ว ปัจจุบันก็มีการออกแบบ Tower  Case  รูปทรงใหม่ โดยส่วนมากแล้วจะย้าย Port  มาไว้ด้านหน้าเพื่อง่ายต่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ และจะมี  Port  USB เพิ่มมากขึ้น  มี Option มากกว่าในอดีต  ฝาครอบใช้น็อตหมุนด้วยมือ  ไม่ต้องพก    ไขควง        น้ำหนักเบา      มีไฟวิ่งหน้า Case       ระบายอากาศได้ดี    บางรุ่นมีบัดลมระบายความร้อนให้ CPU ถึง 2 ตัว     มี Design  รูปหน้ารถยนต์ทรงสปอร์ต       ด้านข้างฝา Case เจาะใสให้มองเห็นอุปกรณ์ภายใน      ฝา Case ทำจากอลูมิเนียมทำให้ลบรอยคม หรือลบเหลี่ยมได้  เป็นมันเงา มีหูหิ้วด้านบนเพื่อสะดวกในการโยกย้าย











ความจุของหน่วยความจำ  (Storage Sizes)
                                อ้างอิงหน่วยความจุ  ของขนาดหน่วยความจำ (Memory)  ได้ดังนี้
                                1.  KB  (Kilobyte) มีความจุ  1,024  ตัวอักษร (bytes) หรือคำนวณได้โดยใช้ 2^10     
                                     ใช้กับแผ่น Diskette
                                2.  MB  (Megabyte) มีความจุเป็นล้าน (million)  หรือคำนวณได้โดยใช้ 2^20
                                      ใช้กับ CD-ROM  และ  Thumb Drive
                                3.  GB  (Gigabyte)  มีความจุเป็นพันล้าน  (billion)  หรือคำนวณได้โดยใช้ 2^30
                                      ใช้กับ Harddisk
                                4.  TB   (Terabyte)  มีความจุเป็นล้านล้าน (trillion)  หรือคำนวณได้โดยใช้ 2^40
                                      ใช้กับ Harddisk  ความจุสูงชนิดพิเศษที่นำไปใช้งานเป็นเครื่อง Server

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเร็วในการประมวลผล (Factors Affecting Processing Speed)
        มีองค์ประกอบ 5 ส่วนหลัก ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเร็วในการประมวลผลของเครื่อง
1. หน่วยความจำภายใน CPU (Registers)   ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งในขณะที่ CPU ทำการ
ประมวลผล  ดังนั้นขนาดความจุของ Registers  จึงมีผลโดยตรงต่อการประมวลผลในแต่ละครั้ง   Registers   มีขนาดตั้งแต่ 32- 64 bit ซึ่งปัจจุบันอาจจะมากกว่านี้  ซึ่งนั่นหมายความว่าถ้า  Registers   ความจุมาก  CPU ก็จะประมวลผลได้เร็วขึ้น
2.  หน่วยความจำหลัก (RAM) มีผลโดยตรงต่อความเร็วในการประมวลผลของระบบ 
ถ้าเครื่องของคุณ มี RAM มากก็จะสามารถเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งได้มาก  CPU จะเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน RAM ได้เร็วกว่าที่อยู่ใน Disk   ส่งผลให้เครื่องทำงานได้เร็ว   ในขณะประมวลผลหากหน่วยความจำของเครื่องไม่พอที่จะ Load ข้อมูล (Not  Enough  Memory)  CPU จะทำการสลับข้อมูลที่อยู่ใน RAM ไปไว้ที่ Disk เพื่อให้มีพื้นที่ ใน RAM เพียงพอที่จะ Load ข้อมูลซึ่งเมื่อเกิดการสลับก็จะทำให้การทำงานนั้นช้า  และส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ
3.  ระบบสัญญาณนาฬิกา (System Clock)  ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับ  CPU  โดยเฉพาะ  ซึ่งสร้างมา
จากสารผลึกแก้วโดยใช้การสั่นสะเทือนในการทำงาน  เสียงดัง   ติ๊ก (tick)”   คือ  ช่วงเวลาที่ตัว transistor จะส่งสัญญาณ On และ Off  เราจะเรียกช่วงของเสียงดัง ติ๊ก นี้ว่า Clock cycles”  และใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz)  โดยจะวัด 1 รอบสัญญาณนาฬิกาต่อ 1 วินาที  ถ้าคอมพิวเตอร์มี clock  speed   300 MHz  จะมีเสียงดังติ๊ก  300 ล้านครั้ง/วินาที    การเดินของนาฬิกาจะเร็วมาก  ในขณะที่นาฬิกาเดินนั้นก็จะมีการประมวลผลคำสั่งทุก ๆ วินาที
4.  เส้นทางในการขนส่งข้อมูล (BUS)   ความกว้าง (BUS  Width)  และความเร็ว (Bus Speed)  ของ Bus  
ส่งผลต่อปริมาณในการขนส่งข้อมูลในระบบ
5. หน่วยความจำความเร็วสูง  (Cache memory)  จะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งปัจจุบัน ที่ CPU  load อยู่
โดย CPU  จะทำการค้นหาข้อมูลจาก Cache  ก่อนที่จะไปค้นใน   RAM และสามารถเข้าถึง (access) ข้อมูลใน  Cache ได้เร็วกว่า  RAM  ถ้าเป็น Cache Level-2 (L2)  จะวางอยู่นอก CPU สามารถถอดออกหรือเสียบเข้าได้  ดังนั้นคุณจึงสามารถซื้อเพิ่มได้  ถ้าในเครื่องมี Cache   มากก็จะมีผลกระทบโดยตรงต่อความเร็วของระบบเครื่อง นั่นก็คือ เครื่องจะทำงานได้เร็วขึ้น





















2.3  รหัสแทนข้อมูล (Data Representation)
                                ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์ จะทำงานกับตัวเลขโดยอาศัยระบบเลขฐาน
ระบบเลขฐาน
ระบบเลขฐาน
ชื่อภาษาอังกฤษ
ตัวเลขที่ใช้
2
Binary
0-1
3
Ternary
0-2
4
Quarternary
0-3
5
Quinary
0-4
6
Senary
0-5
7
Septernary
0-6
8
Octenary
0-7
9
Nonary
0-8
10
Denary/Decimal
0-9
11
Undenary
0- A
12
Duodenary
0- A, B
13
Tredenary
0- A, B,C
14
Quatuordenary
0- A, B,C,D
15
Quidenary
0- A, B,C,D,E
16
Hexadenary
0- A, B,C,D,E,F
ระบบเลขฐานในคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกแปลงให้เป็นข้อความและตัวเลขเพื่อแสดงผลต่อผู้ใช้  แต่ในกระบวนการทำงานนั้นคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบตัวเลขฐานสอง (binary number system)  แต่มนุษย์เราจะใช้ระบบตัวเลขฐานสิบ (decimal system/ Denary) ซึ่งในระบบเลขฐานสองนั้นจะแทนด้วยตัวเลข 0  กับ 1
0              หมายถึง  ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่เครื่อง  เช่นเดียวกับการปิดสวิตซ์ไฟฟ้า ( Off/False)
1              หมายถึง  มีสัญญาณไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่เครื่อง เช่นเดียวกับการเปิดสวิตซ์ไฟฟ้า (On/True)       

Base 10
Base 2
0
0
1
1
2
10
3
11
4
100
5
101
6
110
7
111
8
1000
9
1001

โครงสร้างข้อมูล
1.  Bit  คือ  หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล   มี 2 ค่าที่เป็นไปได้คือ 0 และ 1ไม่สามารถที่จะเป็นค่าว่างได้
2.  Byte   คือ  การรวมกันตั้งแต่  8 bits  ซึ่ง  8   bit  เท่ากับ 1 byte   (1 byte หมายถึง  1 ตัวอักษร)
3.  Field  คือ  การนำ Byte  มารวมกันแล้วได้ความหมายเกิดเป็นข้อมูลในแนวตั้ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
    “Column”
4.  Record คือ  การนำ Field หลาย Field  มารวมกันแล้วได้ความหมายเกิดเป็นข้อมูลในแนวนอน เรียกอีกชื่อ
     หนึ่งว่า “Row”
5.  File  คือการรวมกันของ  Record  แล้วเกิดเป็นแฟ้มข้อมูล  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  “Table”

ฐานข้อมูล (Database)   หมายถึง  การนำแฟ้มที่จัดเก็บข้อมูลลักษณะเดียวกัน ประเภทเดียวกัน แฟ้มข้อมูลเหล่านั้นทำงานสัมพันธ์กัน  โดยนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เช่น ฐานข้อมูลพนักงาน  อาจประกอบไปด้วยหลายแฟ้มข้อมูล  เช่น  แฟ้มประวัติพนักงาน  แฟ้มผลการประเมินและการปฏิบัติงาน  แฟ้มเงินเดือน  เป็นต้น



รหัสแทนข้อมูล
มี 3 ประเภท  ได้แก่
1. ASCII  Code (American Standard Code for Information Interchange) นิยมใช้มากสุดบนเครื่อง PC และ Mini Computer   ใช้  8 bit  ในการแทน  1  ตัวอักษร สามารถแทนข้อมูลได้ 2^8=256  แบบ (256  ตัวอักษร รวมอักขระพิเศษ)

ตารางค่ารหัส   ASCII  Code
อักษรตัวพิมพ์ใหญ่
อักษรตัวพิมพ์เล็ก
ตัวอักษร
เลขฐานสิบ
ตัวอักษร
เลขฐานสิบ
A
65
a
97
B
66
b
98
C
67
c
99
D
68
d
100
E
69
e
101
F
70
f
102
G
71
f
103
H
72
h
104
I
73
i
105
J
74
j
106
K
75
k
107
L
76
l
108
M
77
m
109
N
78
n
110
O
79
o
111
P
80
p
112
Q
81
q
113
R
82
r
114
S
83
s
115
T
84
t
116
U
85
u
117
V
86
v
118
W
87
w
119
Z
88
x
120
Y
89
y
121
Z
90
z
122
Note:   ASCII Code 8 Bit สามารถแทนค่าข้อมูลได้ตั้งแต่ 0-255  รวมแล้ว 256 ตัวอักขระ

2. EBCDIC  Code  (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) นิยมใช้บนเครื่อง Mainframe    ใช้  8  bit  ในการแทน  1 ตัวอักษร    สามารถแทนข้อมูลได้ 2^8=256  แบบ
3. Unicode  ใช้ 16 bit ในการแทนข้อมูล ซึ่งจะสามารถแทนข้อมูลได้ 2^16=65,536 แบบ โดยที่ 256 ตัวแรกของ  Unicode จะเหมือนกับของ  ASCII    โดยรหัส Unicode   จะถูกนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการ (OS) เช่น Windows2000    WindowsNT  และ   OS/2

การแปลงเลขฐาน
                สามารถแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง ได้ 2 วิธี
1.        การนับจำนวนค่าของจำนวน Bit
ตัวอย่าง :  จงแปลงอักษรตัว  “a”  เป็นเลขฐานสอง
                                Solve : จากตารางค่ารหัส ASCII  พบว่า “a” มีค่าเท่ากับ 97 สามารถให้ค่า Bit ได้ดังนี้


2.        การหารสั้น
Solve:


ที่มา
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/Bloom_/Bloom1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น